นายเอกนัฏ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาแบบ Hybrid System ต้องเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯก่อนการหาเสียงเลือกตั้ง แต่ไม่ได้กำหนดว่าแคนดิเดตนายกฯของพรรคที่ได้เสียงมากที่สุดต้องได้เป็นนายกฯ อีกทั้งในระบบรัฐสภาที่เป็นสากล ก็ไม่ได้กำหนดเช่นกันว่าพรรคอันดับหนึ่งจะได้เป็นแกนนำตั้งรัฐบาล ด้านกองเชียร์ควรยอมรับฟังข้อเสนอของพรรคการเมืองอื่นๆ ด้วย การออกมาคุกคาม-บูลลี่คนที่เห็นต่าง หวั่นบานปลาย และเข้าข่ายการคุกคามละเมิดสิทธิผู้อื่น ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
สว.กิตติศักดิ์ ท้องเสียลาประชุม บอกเลิกฝัน เสนอชื่อ "พิธา" โหวตนายกฯ ได้แล้ว คำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ
“รทสช.” ยังไม่ปิดประตูตาย แนวทางร่วมรัฐบาลเพื่อไทย
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ด้วยความเคารพ.. เสียงของประชาชนคนไทยตามระบอบประชาธิปไตย” รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปี 2560 เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติด้วยเสียงส่วนใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ ถือเป็นกระบวนการการหยั่งเสียงในระบอบประชาธิปไตย และหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ ประเทศไทยก็ผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว 2 ครั้ง ในปี 2562 และล่าสุดในปี 2566
การที่พรรคการเมืองสามารถออกมานำเสนอจุดยืน พูดอย่างเปิดเผยบนเวที ออกสื่อได้ทุกช่องทาง ไม่ว่าเนื้อหาจะรุนแรงเพียงใดก็ตาม ถือเป็นสิ่งพิสูจน์ว่าการเลือกตั้งนั้นเสรีและเป็นธรรม (Free and Fair) ไม่ได้ถูกปิดกั้นแต่อย่างใด เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
แต่กองเชียร์เอง ก็ต้องยอมรับฟังข้อเสนอของพรรคการเมืองอื่นๆ ที่สะท้อนความต้องการที่หลากหลายของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย
การออกมาคุกคามบูลลี่คนที่เห็นต่างผ่านสื่อฯ บีบบังคับให้สังคมต้องบิดเบี้ยวไปตามความต้องการของตัวเอง อาจบานปลายกลายเป็นการคุกคามละเมิดสิทธิของคนอื่น ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
วันนี้ การเลือกตั้งสส.ที่เป็นประชาธิปไตยก็จบไปแล้ว พรรคก้าวไกลมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้จำนวนสส. 151 คน พรรคเพื่อไทยมาเป็นอันดับสอง ได้จำนวนสส. 141 คน และมีพรรคอื่นๆรวมแล้ว ได้จำนวนสส. อีก 208 คน รวมทั้งหมดเป็น 500 คน
พรรคก้าวไกล เป็นพรรคอันดับหนึ่งก็จริง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเสียงข้างมากที่จะโหวตนายกฯหรือตั้งรัฐบาลได้ในระบบการเลือกตั้งที่เป็นระบบรัฐสภา
ระบบการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ที่นานาประเทศใช้กัน สรุปง่ายๆ มีสองระบบ คือระบบประธานาธิบดี (Presidential System) เป็นการการเลือกผู้นำของประเทศโดยตรง และอีกระบบคือระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นการเลือกตั้งสส. จากพรรคการเมืองแล้วให้สส. กับพรรคการเมืองไปเลือกผู้นำประเทศและตั้งรัฐบาลต่อไป ระบบของไทยโดยหลักแล้วเป็นระบบรัฐสภา แต่เนื่องจากมีข้อกำหนดต้องเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีก่อนการหาเสียงเลือกตั้ง จึงเสมือนเป็นระบบผสมหรืออาจจะเรียกว่าเป็น Hybrid System ก็น่าจะได้ ซึ่งอาจจะทำให้คนสับสนนึกว่าเป็นการไปเลือกแคนดิเดตนายกฯโดยตรง
อันที่จริงแล้ว ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในกติกาว่าแคนดิเดตนายกฯของพรรคที่ได้เสียงมากที่สุดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี และในระบบรัฐสภาที่เป็นสากลก็ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในกติกาว่าพรรคอันดับหนึ่งจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะให้โอกาสพรรคอันดับหนึ่งไปดำเนินการก่อนเท่านั้น
ขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงเวลาที่บทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญที่ให้สว. เข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกนายกฯ ยังมีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นผลพวงของคำถามเพิ่มเติม ที่ผ่านการทำประชามติเมื่อปี 2559 ด้วยเสียงถึง 15.1 ล้านเสียง หรือคิดเป็นสัดส่วน 58% ของผู้ที่ไปลงคะแนน
พอใจ หรือไม่พอใจ แต่ก็ผ่านการทำประชามติ ซึ่งถือเป็นการหยั่งเสียงด้วยเสียงส่วนมากของคนทั้งประเทศ เปรียบเทียบได้กับกรณีการทำประชามติ Brexit ในสหราชอาณาจักร ที่ฝ่าย Leave เอาชนะ ฝ่าย Remain เพียงนิดเดียว 52% ต่อ 48% ถึงแม้ว่าการตัดสินใจนั้นจะสร้างความแตกแยกทางความรู้สึกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่รัฐบาลก็ต้องปฏิบัติตาม ด้วยความเคารพต่อเสียงส่วนมากในระบบการหยั่งเสียงในระบอบประชาธิปไตย
มาวันนี้ในประเทศไทย.. การใช้เสียงในรัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ถือเป็นขั้นตอนการเลือกผู้นำในระบบรัฐสภา ผลออกมาอย่างไร รูปร่างหน้าตาออกมาแบบไหน พอใจหรือไม่พอใจ ก็เป็นกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย ควรมีน้ำใจนักกีฬา ให้ความเคารพต่อเสียงส่วนมากของประชาชนและการตัดสินใจของผู้แทนราษฎรในสภาที่มาจากการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน